งานตรวจวัดคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Measurement)

งานตรวจวัดคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Measurement)

ภายใต้ประสบการณ์ชำนาญการในด้านการให้คำปรึกษาในการตรวจวัด และกำหนดจุดตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  • คุณภาพอากาศในบรรยากาศ
  • คุณภาพอากาศจากปล่องระบายมลพิษทางอากาศ
  • คุณภาพน้ำ
  • คุณภาพเสียง
  • การตรวจวัดสิ่งแวดล้อมภายในสถานประกอบการ

 

 


 

 ด้านคุณภาพอากาศในบรรยากาศ

ดำเนินการตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ครอบคลุมพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการ ความถี่ในการตรวจวัดปีละ 2 ครั้ง ใน 2 ช่วงทิศทางลมหลัก และทำการตรวจวัดติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน ครอบคลุมวันทำการและวันหยุดโดยมีพารามิเตอร์ที่กำหนด ได้แก่

(ก) ฝุ่นละอองรวม (TSP) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง

(ข) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง

(ค) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง

(ง) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เฉลี่ย 1 ชั่วโมง

(จ) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เฉลี่ย 1 ชั่วโมง และเฉลี่ย 24 ชั่วโมง

(ฉ) ทิศทางและความเร็วลม (อย่างน้อยจำนวน 1 สถานี)

 ด้านคุณภาพอากาศจากปลายปล่องระบายมลพิษทางอากาศ

การตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ปล่องระบายมลพิษทางอากาศ กำหนดความถี่ในการตรวจวัดปีละ 2 ครั้ง โดยตรวจวัดในช่วงเวลาเดียวกับการตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ทำการตรวจวัดขณะเดินเครื่อง มีพารามิเตอร์ที่กำหนด ได้แก่

(ก) ฝุ่นละอองรวม (TSP)
(ข) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
(ค) ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx as NO2)

 ด้านคุณภาพน้ำทิ้ง

ตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งตามจุดตรวจวัด อย่างน้อย 1 สถานี เช่น บ่อพักน้ำทิ้งสุดท้ายก่อนระบายออกนอกพื้นที่โครงการหรือหมุนเวียนกลับไปใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งแสดงผลการตรวจวัดเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งที่เกี่ยวข้องในรูปแบบตารางและแผนภูมิ ความถี่ในการตรวจวัดทุก 1 เดือน โดยมีพารามิเตอร์ที่ตรวจวัด ได้แก่

ก) อัตราการไหล
ข) อุณหภูมิ (T)
ค) ความเป็นกรด-ด่าง (pH)
ง) สารแขวนลอย (SS)
จ) สารละลายทั้งหมด (TDS)
ฉ) ค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO)
ช) ค่าซีโอดี (COD)
ซ) น้ำมันและไขมัน (Oil & Grease)
ฌ) ค่าบีโอดี (BOD)
ฏ) ไนโตรเจน (Nitrogen) ในรูป ที เค เอ็น (TKN)
ฐ) โคลิฟอร์มทั้งหมดและฟีคัลโคลิฟอร์ม (TCB, FCB)

 ด้านคุณภาพน้ำผิวดิน

เฉพาะกรณีที่มีสูบน้ำ หรือระบายน้ำทิ้งลงแหล่งน้ำผิวดิน ให้มีการตรวจวัดคุณภาพน้ำในแหล่ง น้ำผิวดิน โดยมีจำนวนสถานีอย่างน้อย 3 สถานี ได้แก่ บริเวณเหนือจุดสูบน้ำ หรือระบายน้ำทิ้งของโครงการ บริเวณจุดสูบน้ำ หรือระบายน้ำทิ้งของโครงการ และบริเวณท้ายสูบน้ำ หรือจุดระบายน้ำทิ้งของโครงการ ความถี่ในการตรวจวัดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยมีพารามิเตอร์ที่ตรวจวัด ได้แก่

(ก) อัตราการไหล
(ข) อุณหภูมิ (T)
(ค) ความเป็นกรด-ด่าง (pH)
(ง) สารแขวนลอย (SS)
(จ) สารละลายทั้งหมด (TDS)
(ฉ) ค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO)
(ช) ค่าซีโอดี (COD)
(ซ) น้ำมันและไขมัน (Oil & Grease)
(ฌ) บีโอดี (BOD)
(ฏ) ไนโตรเจน (Nitrogen) ในรูป ที เค เอ็น (TKN)
(ฐ) โคลิฟอร์มทั้งหมดและฟีคัลโคลิฟอร์ม (TCB, FCB)

 ด้านคุณภาพเสียง

ทำการตรวจวัดระดับเสียงในบรรยากาศ จำนวนอย่างน้อย 3 สถานี ได้แก่ บริเวณริมรั้วโครงการ อย่างน้อยจำนวน 1 สถานี และบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ตั้งโครงการที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการ อย่างน้อยจำนวน 2 สถานี ความถี่ในการตรวจวัดปีละ 2 ครั้ง และทำการตรวจวัดติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน ครอบคลุมวันทำการและวันหยุด โดยมีพารามิเตอร์ที่ตรวจวัด ได้แก่

1) ระดับเสียงในบรรยากาศ เฉลี่ย 24 ชั่วโมง (Leq 24 hr)
2) ระดับเสียงพื้นฐาน (L90)
3) ระดับเสียงเฉลี่ยกลางวัน-กลางคืน (Ldn)
4) ระดับเสียงสูงสุด (Lmax)

 ด้านการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในสถานประกอบการ

โดยมีพารามิเตอร์ที่ตรวจวัด ได้แก่

  • ระดับเสียงเฉลี่ย 8 ชั่วโมง
  • การตรวจวัดความร้อน (WBGT) ภายในพื้นที่โครงการ เช่น บริเวณหม้อไอน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น